ปี 2563 จากสถานการณ์ COVID-19 โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก มีการพัฒนาโปรแกรมเวชเบียนอิเล็กทรอนิกส์ ใช้บันทึกข้อมูลผู้ป่วย COVID-19
ทีมพัฒนา(RN)ได้ออกแบบ Nursing record [EMR.2,EMR.9, EMR.17] เฉพาะโรค COVID-19 เป็นแบบ Checklist และเติมคำในช่องว่าง ได้รับการตอบรับเป็นที่น่าพอใจจากพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วย COVID-19
เดือน ม.ค. 2565 : พัฒนาโปรแกรมเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์พุทธชินราช (ฺEMRs BH-PL & BH-PL.NR) ผู้ป่วยใน
1. ทีมพัฒนา : ลงมติให้เริ่มพัฒนาแบบฟอร์มการบันทึกทางการพยาบาล (EMR.9) ก่อนแบบฟอร์มเวชระเบียนอื่น (EMRs) เนื่องจากมีความยาก ฐานข้อมูลมีจำนวนมาก และพยาบาลเป็นคนกลุ่มมากที่ต้องมีการบันทึกการพยาบาล (BH-PL.NR) ผ่านโปรแกรมเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์พุทธชินราช (ฺEMRs BH-PL) ถ้าทำได้สำเร็จ ผู้ใช้งาน (User) พึงพอใจ แบบฟอร์มเวชระเบียนอื่นๆ (EMRs) ก็ไม่ยากที่จะพัฒนาต่อ
2. คัดเลือกหน่วยงานต้นแบบ : Ward สรรค์สุข ดูแลผู้ป่วยจิตเวช (กำหนดเปิด 1 มี.ค.2565)
หัวหน้า และทีมพยาบาลมีความยินดีเข้าร่วมพัฒนา (ทีมมีประสบการณ์ในการใช้โปรแกรมเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ COVID-19)
หัวหน้าหอ และทีมพยาบาล ward สรรค์สุข และมีความมุ่งมั่นมาก (จัดทำ Database Nursing record ด้านจิตเวช และนำเข้าโปรแกรมเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ ให้สำเสร็จภายในเดือน ก.พ.65)
- จัดสรรหาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่าย และจัดสิ่งแวดล้อมของหอป่วยได้ตามที่ทีมกำหนด (เป็นหน่วยงานเปิดใหม่)
ตัวอย่าง Database Nursing record version 1.
3. ทีมพัฒนา ทีมสรรค์สุข (RN) และที่ปรึกษา นางรัชนีวัลย์ รักเกียรติเผ่า ร่วมออกแบบฟอร์มบันทึกทางการพยาบาล (EMR.9) โดยใช้รูปแบบบันทึกแบบเดิม (Gen-FDAR) ที่บันทึกในกระดาษ ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงวิธีหรือแบบฟอร์มการบันทึกจากเดิม นอกจากเปลี่ยนการเขียนบันทึกด้วยปากกาเป็นการลงข้อมูลผ่าน Computer เท่านั้น
4. กำหนดให้ทีมพัฒนา(RN) ทำหน้าที่นำเข้าฐานข้อมูลบันทึกทางการพยาบาล (Database Nursing record) ที่แต่ละกลุ่มงานทำขึ้นเข้าโปรแกรมเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ (EMRs BH-PL) เนื่องจาก Database Nursing record มีจำนวนมาก สามารถเพิ่มข้อมูลหรือปรับปรุงแก้ไขข้อมูล Database Nursing record ได้ทันทีโดยไม่ต้องรอ Programmer ดำเนินการ
5. กรอบเวลา : การใช้แบบฟอร์มการบันทึกทางการพยาบาลอิเล็กทรอนิกส์ (BH-PL.NR)
Phase 1 - ward ต้นแบบ 1 ward [ม.ค.65 - มิ.ย.65]
Phase 2 - จำนวน 17 ward [ก.ค.65 - ก.ย.65]
Phase 3 - จำนวน 30 ward [ต.ค.65 - มิ.ย.66]
6. ประเมินผล : การใช้แบบฟอร์มการบันทึกทางการพยาบาล นำผลประเมินมาปรับแก้ ดังนี้
- จัดซื้อครื่องคอมพิวเตอร์ แท๊บเล็ต เพิ่มให้เพียงพอกับการใช้งาน
- เพิ่มอุปกรณ์กระจายสัญญาณเครือข่ายไร้สาย (Wi-Fi)
- ตั้งกลุ่ม Line เพื่อสื่อสารการใช้โปรแกรมหากเกิดข้อผิดพลาดสามารถปรับปรุงแก้ไขโปรแกรมได้ทันทีทันใด ระหว่างผู้ใช้งาน (User) กับ Programmer ได้ตลอด 24 ชม.
- จัดให้มี Programmer (เวร on call) รับผิดชอบควบคุม ดูแล และตรวจสอบการทำงาน การบำรุงรักษาแก้ไขโปรแกรมตลอด 24 ชม.